รู้จักเทศบาลอาจสามารถ

รู้จักเทศบาลอาจสามารถ

ประวัติเทศบาลตำบลอาจสามารถ

เทศบาลตำบลอาจสามารถซึ่งเดิมเป็นสุขาภิบาลอาจสามารถจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2499 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ครอบคลุม 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ ได้แก่  หมู่ที่ 1 บ้านสั้น  หมู่ที่  7 บ้านชูชาติ   หมู่ที่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 บ้านอาจสามารถ และหมู่ที่ 15 บ้านชูชาติ มีพื้นที่ประมาณ 7.63 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ 4,766.25  ไร่ ระยะห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 32 กิโลเมตร

สภาพทั่วไป

  1. ลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลอาจสามารถซึ่งเดิมเป็นสุขาภิบาลอาจสามารถจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2499 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ครอบคลุม 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านสั้น หมู่ที่ 7 บ้านชูชาติ หมู่ที่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 13 บ้านอาจสามารถและหมู่ที่ 15 บ้านชูชาติ มีพื้นที่ประมาณ 7.63 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ 4,766.25 ไร่ ระยะห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 32 กิโลเมตร
     2. อาณาเขต
          ด้านทิศเหนือ ตั้งแต่หลักที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากจากศูนย์กลางสะพานหนองอีขาวไปทางทิศเหนือ 900 เมตรจากหลักที่ 1 เป็นเส้นขนานกับฝั่งเหนือของร่องน้ำหนองเขื่องและร่องน้ำหนองสิมใหม่ไปทางทิศตะวันออกถึงฟากตะวันออกของถนนสายอาจสามารถ-บ้านชีโหล่นซึ่งเป็นหลักที่ 2 ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงฝั่งเหนือของร่องน้ำหนองสิมใหม่ตรงที่อยู่จากฟากใต้ของทางหลวงสายร้อยเอ็ด-พนมไพรไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 700 เมตรซึ่งเป็นหลักที่ 3
จากหลักที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงฟากตะวันออกของทางหลวง สายอาจสามารถ-บ้านดงสว่าง-บ้านแวงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 1,100 เมตรซึ่งเป็นหลักที่ 4
          ด้านทิศใต้ จากหลักที่๔เป็นเส้นตั้งฉากกับหลักที่ 3 และหลักที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 2,800 เมตรซึ่งเป็นหลักที่ 5
          ด้านทิศตะวันตก จากหลักที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงฟากเหนือของทางหลวงสายอาจสามารถ – บ้านโพนเมืองตรงที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางสะพานหนองอีขาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 550 เมตรซึ่งเป็นหลักที่ 6
จากหลักที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนบรรจบกับหลักที่ 1
     3. ประชากร
          ในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถมีประชากรทั้งสิ้น 4,087 คนความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่โดยเฉลี่ย 535 คน : ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ

1. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร           

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญจึงเป็นข้าวอาชีพด้านการพาณิชย์และราชการส่วนน้อยรายได้เฉลี่ย/คน/ปีประมาณ 25,000 บาท    

 2. การพาณิชยกรรมและการบริการ           

2.1 สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม                     

–  สถานีบริการน้ำมัน จำนวน      2  แห่ง                     
–  ตลาดสด               จำนวน      1  แห่ง                     
–  ร้านค้า             จำนวน  116  แห่ง           

2.2 สถานประกอบการเทศพาณิชย์                     
–  โรงฆ่าสัตว์ จำนวน    1    แห่ง           

2.3 สถานประกอบการด้านบริการ                     
–  ธนาคาร จำนวน    2    แห่ง                     
–  สหกรณ์ จำนวน    1   แห่ง           

2.4 การท่องเที่ยว
–  หนองหูลิง เป็นหนองน้ำสาธารณะในเขตเทศบาล  เป็นที่ประดิษฐานเจ้าแม่นางหินซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกาย
– สวนน้ำอาจนคร

ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

1. ภูมิอากาศ(ปีปัจจุบัน)        

1.1  อุณหภูมิสูงสุด  40 องศาเซลเซียส  ต่ำสุด   16 องศาเซลเซียส        
1.2  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อย

2 แหล่งน้ำ      
2.1  หนอง  บึง   จำนวน    4  แห่ง   ได้แก่               
1.1 หนองหูลิง         คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ        120,000 ลูกบาศก์เมตร               
1.2 หนองบักงอน     คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ         80,000 ลูกบาศก์เมตร               
1.3 หนองเขื่อง       คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ         75,000 ลูกบาศก์เมตร               
1.4 หนองฮี             คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ          50,000 ลูกบาศก์เมตร        
2.2  ลำห้วย   1  แห่ง   ได้แก่   ลำห้วยสร้างแข้

3. น้ำเสีย        
3.1  ปริมาณน้ำเสีย   1,400 ลบ.ม./วัน        
3.2  ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ รวม  –  แห่ง        
3.3  น้ำเสียที่บำบัดได้  จำนวน     –  ลบ.ม./วัน

4. ขยะ        
4.1  ปริมาณขยะ    7 ตัน/วัน        
4.2  รถยนต์ที่เก็บขยะ   รวม   3  คัน   แยกเป็น
ก.  รถยนต์คันที่   1  รถเก็บขนขยะขนาดความจุ 6 ลบ.หลาได้รับมอบจาก กรุงเทพมหานครเมื่อ  พ.ศ.2538  (ชำรุด)
ข.  รถยนต์คันที่   2  รถเก็บขนขยะขนาดความจุ ๔ ลบ.หลาได้รับมอบ  เมื่อ  พ.ศ. 2541               
ค.  รถยนต์คันที่  3 รถเก็บขนขยะขนาดความจุ๑๐ลบ.หลาซื้อเมื่อ  พ.ศ.2552      
 4.3  ขยะที่เก็บขนได้   จำนวน   4.6 ตัน/วัน        
4.4  ขยะที่กำจัดได้   จำนวน   3.5 ตัน/วัน

สภาพสังคม

1. ชุมชน จำนวน  5  แห่ง   จำนวน  1,539  ครัวเรือน  ประกอบด้วย
        หมู่ 1 จำนวน    439  ครัวเรือน
        หมู่ 7 จำนวน    250  ครัวเรือน
        หมู่ 12 จำนวน  247 ครัวเรือน
        หมู่ 13 จำนวน  290  ครัวเรือน
        หมู่ 15 จำนวน  323 ครัวเรือน

2. ศาสนา เทศบาลตำบลอาจสามารถ มีวัดจำนวน  3  แห่ง มีผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99.80 ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.20 ของจำนวนประชากร

3. วัฒนธรรม เทศบาลตำบลอาจสามารถ มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน คือ
        1. ประเพณีสงกรานต์จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีการทำบุญตักบาตรรดน้ำดำหัวและบายศรีสู่ขวัญผู้สูงอายุ
        2. ประเพณีบุญบั้งไฟจัดในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีมีการประกวดขบวนแห่สวยงามบั้งไฟสวยงามและประกวดบั้งไฟขึ้นสูง
        3. ประเพณีลอยกระทงจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี มีการประกวดโคมไฟขบวนแห่สวยงามประกวดกระทงสวยงามและประกวดธิดาสระบุศย์
4. ประเพณีบุญเดือนสาม จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีส่วนราชการและประชาชนในแต่ละหมู่บ้านร่วมทำบุญตักบาตร ที่ดอนปู่ตาอำเภออาจสามารถ

4. การศึกษา
        – สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2 แห่ง
            1. โรงเรียนเมืองอาจสามารถ ประกอบด้วย
                 จำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล 183 คน
                 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-6 644 คน
            2. โรงเรียนอาจสามารถวิทยา ประกอบด้วย
                 จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 523 คน อัตราโดยเฉลี่ย 33 คน/1 ห้องเรียน
                 จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 588 คน อัตราโดยเฉลี่ย 38 คน/1 ห้องเรียน
        – สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 1 แห่ง คือ โรงเรียนเชื้อจรูญวิทย์
                 จำนวนนักเรียนอนุบาล 124 คน อัตราโดยเฉลี่ย 30 คน/1 ห้องเรียน
                 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-6 133 คน อัตราโดยเฉลี่ย 25 คน/1 ห้องเรียน
                 จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 174 คน อัตราโดยเฉลี่ย 30 คน/1 ห้องเรียน
                 จำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 100 คน อัตราโดยเฉลี่ย 30 คน/1 ห้องเรียน
        – ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  1  แห่ง
        – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก๑แห่งคือศูนย์เด็กเล็กวัดอุบลบรทิพย์

5. การกีฬา/นันทนาการ/พักผ่อน
        1. สนามกีฬาอเนกประสงค์             จำนวน         3 แห่ง
        2. สนามฟุตบอล                           จำนวน         3 แห่ง
        3. สนามบาสเกตบอล                    จำนวน         2 แห่ง
        4. สนามตะกร้อ                             จำนวน         2 แห่ง
        5. ห้องสมุดประชาชน                    จำนวน         1 แห่ง
        6. สวนสาธารณะ                           จำนวน         1 แห่ง
        7. สนามเด็กเล่น                           จำนวน         –  แห่ง

 6. สาธารณสุข
        1. โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1  แห่ง รัฐบาล จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 30 เตียง
        2. สาธารณสุขอำเภอ จำนวน  1 แห่ง
        3. คลินิคเอกชน จำนวน 3 แห่ง
        4. บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลในเขตพื้นที่
                – แพทย์                                                     จำนวน       5 คน
                – ทันตแพทย์                                              จำนวน       4 คน
                – พยาบาลวิชาชีพ                                       จำนวน    35 คน
                – พยาบาลเวชปฏิบัติ                                   จำนวน      9 คน
                – พยาบาลเทคนิค                                       จำนวน        1 คน
                – เภสัชกร                                                   จำนวน       5 คน
                – เจ้าพนักงานเภสัชกรรม                             จำนวน       3 คน
                – นักวิชาการสาธารณสุข                              จำนวน       5 คน
                – เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข                     จำนวน      7 คน
                – เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน                   จำนวน       6 คน
                – นักวิทยาศาสตร์การแพทย์                         จำนวน       – คน
                – นักรังสีการแพทย์                                       จำนวน      3 คน
                – เจ้าหน้าวิทยาศาสตร์การแพทย์                 จำนวน      1 คน
                – เวชสถิติ                                                   จำนวน      3 คน
                – อื่น ๆ                                                         จำนวน       36 คน
                – อาสาสมัครสาธารณสุข (ทั้งอำเภอ)           จำนวน 1,702 คน
        5. ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข(จำนวนต่อปี)
                5.1 ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข อุบัติเหตุจราจร 370 ราย/ปี คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 197,344 บาท สาเหตุอื่น 108,108 ราย/ปีคิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 42,076,128 บาท
                5.2 ศูนย์บริการสาธารณสุข – คน
        6. สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข 5 อันดับแรก
                1. โรคเบาหวาน
                2. โรคความดันโลหิตสูง
                3. โรคท้องอืด อาหารไมย่อย
                4. โรคไข้หวัด
                5. โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ

7. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        1. สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี (1 ม.ค.- 31 ธ.ค.)  จำนวน 35 ครั้ง
        2. ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา คิดเป็นผู้เสียชีวิต – คน บาดเจ็บ – คน ทรัพย์สินมูลค่า – บาท
        3. รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน จุน้ำได้ 2,000 ลูกบาศก์ลิตร
             รถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน
                – 6 ล้อบรรจุน้ำได้ 5,000 ลูกบาศก์ก์ลิตร
                – 10ล้อบรรจุน้ำได้ 10,000 ลูกบาศก์ลิตร
        4. เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 4 เครื่อง
        5. พนักงานดับเพลิง 8 คน
        6. อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  58  คน

โครงสร้างพื้นฐาน

1. การคมนาคมการจราจร   เทศบาลตำบลอาจสามารถเป็นเส้นทางผ่านจากร้อยเอ็ดที่จะเดินทางไปยังอำเภอพนมไพรโดยรถโดยสารประจำทางสายร้อยเอ็ด–พนมไพรและสามารถเดินทางไปกรุงเทพฯที่สถานีขนส่งร้อยเอ็ดซึ่งห่างจากจังหวัดเพียง 34 กิโลเมตรในเขตเทศบาลมีถนนสายหลักที่สำคัญ  ได้แก่                

–  ทางหลวงสายร้อยเอ็ด – พนมไพร                
–  ถนน รพช.สายอาจสามารถ – โพนเมือง                 
–  ถนน รพช.สายอาจสามารถ – หนองขาม                
–  ถนน  รพช.สายอาจสามารถ – ชีโหล่น              

ในปีงบประมาณ  พ.ศ.2555 เทศบาลตำบลอาจสามารถมีถนนสะพานรางระบายน้ำและท่อเหลี่ยมที่อยู่ในความรับผิดชอบดังนี้  

รายการ  จำนวน(แห่ง)ระยะทาง (ก.ม.)
ถนน
1.1  ถนนลาดยาง
1.2 ถนน คสล.
1.3  ถนนลูกรัง
1.4   ถนนดิน
สะพานคสล.
รางระบายน้ำ
ท่อเหลี่ยม  คสล.
วางท่อระบายน้ำ

30
12
2
2
25
3
5
 –
21
9.5
5
0.4
14.50
0.30
2.3

2. การประปา ในเขตเทศบาลมีผู้ใช้น้ำประปาจำนวน 913 ครัวเรือนปริมาณน้ำประปาที่ผลิตประมาณ 550 ลูกบาศก์เมตร/วันและปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยประมาณ  504 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการซึ่งอาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำชีเป็นแหล่งน้ำดิบ  

3. การไฟฟ้า   ในเขตเทศบาลมีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภออาจสามารถมีผู้ใช้ไฟฟ้า    จำนวน 1,539 ครัวเรือน มีไฟส่องสว่าง จำนวน 350 ดวง      

4. ลักษณะการใช้ที่ดิน  เทศบาลตำบลอาจสามารถเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบทประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมพื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นทุ่งนาอาคารพาณิชย์ที่อยู่อาศัยและที่ตั้งส่วนราชการดังนี้                

–  พื้นที่พักอาศัย          จำนวน     735.25 ไร่                
–  พื้นที่เกษตรกรรม          จำนวน 3,008.77 ไร่                
–   พื้นที่พาณิชยกรรม         จำนวน      69.37 ไร่                
–   พื้นที่อุตสาหกรรม          จำนวน        4.62 ไร่                
–   พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ   จำนวน    115.62 ไร่                
–   พื้นที่ตั้งสถานศึกษา          จำนวน     531.87ไร่                
–   สวนสาธารณะ/นันทนาการ จำนวน    277.50 ไร่                
–   พื้นที่ว่าง                  จำนวน       23.25 ไร่  

Cresta Social Messenger