นโยบายของนายกเทศมนตรี

นโยบายของนายกเทศมนตรี

1. ด้านการศึกษา

1.1 จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนที่ได้มาตรฐานและครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชนเข้าสู่วัยเรียน และแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

1.2 ส่งเสริมกองทุนการศึกษาสำหรับเด็ก ทั้งการศึกษาด้านศาสนา การศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่ดีให้กับเยาวชน และลดปัญหานักเรียนหลุดออกจากระบบ

1.3 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในเขตเทศบาล เพื่อรองรับทั้งการจัดการศึกษานอกระบบ และเพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้กลางสำหรับเยาวชนทุกคน

1.4 สนับสนุนให้นักเรียนและประชาชนมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสาร ทำงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยจะมีทั้งการฝึกอบรมระยะสั้น การเรียนการสอนระยะยาวและเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษานั้นๆโดยตรง

1.5 สนับสนุนอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเยาวชน เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wifi) เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ไม่จำกัด และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

1.6 ส่งเสริมการเรียนรู้คู่คุณธรรม การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี วันสำคัญต่างๆ ทั้งของชาติและของท้องถิ่นรวมถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาชาวบ้าน และต่อยอดให้เกิดทั้งคุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ

2. ด้านสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน

2.1 ปรับปรุงพัฒนาระบบน้ำประปาทั้งระบบเพื่อให้เทศบาลสามารถให้บริการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำใช้ทางการเกษตร ได้อย่างเพียงพอต่อการใช้งานตลอดทั้งปี โดยน้ำประปาจะต้องเป็นน้ำสะอาด ดื่มได้ ปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาแหล่งน้ำสะอาดเพิ่มเติม เช่นการขุดเจาะน้ำบาดาล การใช้กรรมวิธีทางวิศวกรรมในการบำบัดปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมต่อการอุปโภค บริโภค และรวมถึงการติดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำตลอดเส้นทางการลำเลียงน้ำไปสู่ครัวเรือน

2.2 สนับสนุนการก่อสร้าง ซ่อมแซมถนนสายต่างๆ ให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั้งการเดินทางและการขนส่ง

2.3 ปรับปรุงและพัฒนา คู คลอง ในเขตพื้นที่ให้มีความปลอดภัยและมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

2.4 จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ต้องนำมาใช้ในการบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอ

2.5 ก่อสร้าง ปรับปรุง เพื่อความสะดวกต่อการคมนาคมทางน้ำ และการประมงพื้นบ้าน

2.6 ปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น สะอาด ปลอดภัย มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน

3. ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมการท่องเที่ยว

3.1 พัฒนาให้มีสถานที่ทางเศรษฐกิจใหม่ๆในชุมชนร่วมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ตลาดน้ำ ตลาดสดตลอดทั้งวัน ถนนคนเดิน ตลาดกลางคืน (Night market) และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามาจัดกิจกรรมต่างๆ ในจุดดังกล่าว เพื่อดึงดูดประชาชน นักท่องเที่ยว ให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้ เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ เกิดการซื้อขายสินค้าต่อไปเป็นห่วงโซ่อุปทาน และเกิดการกระจายรายได้ในชุมชน

3.2 ปรับปรุงตลาดเทศบาลให้มีความสะดวกสบาย มีสุขลักษณะที่ดี สะอาด น่าเดิน มีการจัดการขยะที่เกิดจากตลาดย่างเป็นระบบ มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำ มีระบบระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ

3.3 ส่งเสริมการอนุรักษณ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และอัตลักษณ์อื่นๆของพื้นที่ ที่จะกลายเป็นต้นทุนสำคัญของชุมชนในการพัฒนาต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยว และรวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน ให้มีเสน่ห์ดึงดูดใจ

3.4 พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ให้มีทักษะทางด้านภาษา เทคโนโลยีสาสนเทศ และความรู้ด้านการตลาด เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

3.5 ประสานกับรัฐบาล และองค์กรต่างๆ เพื่อสรรหาเงินทุนสนับสนุน เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

4. ด้านการเกษตร

4.1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ทางการเกษตรได้อย่างเพียงพอตลอดปี

4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในชุมชน โดยขุดเจาะน้ำบาดาล และใช้ระบบ โซล่าเซลล์ เพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเกษตรแบบยั้งยืน

4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อรักษาคุณภาพของดิน แหล่งน้ำ และเพิ่มความปลอดภัยให้เกษตรกร ผู้บริโภค และทุกคนในชุมชน

4.4 ส่งเสริมการแปรรูปและทำการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย โดยเริ่มจากส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทั้งการรับซื้อปัจจัยการผลิตและการขายสินค้า รวมถึงการแบ่งงานกันทำเป็นองค์กร ทั้งในกระบวนการการแปรรูป การปรับปรุงพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ การทำการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์เพื่อหาช่องทางการขายใหม่ๆ ทั้งนี้ เพิ่อลดต้นทุนการผลิต เพื่มรายได้ และเพิ่มส่วนต่างกำไร

4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การจัดการ การตลาด ให้กับเกษตรกรกลุ่มใหม่ๆ เช่น เกษตรกรรุ่นใหม่ และรวมถึงการจัดตั้งและพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(อกม.) เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบาย

4.6 ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต ทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม และการใช้แนวคิดการประหยัดต่อ

5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

5.1 พัฒนาแหล่งน้ำ โดยการสร้างฝายน้ำล้น ขุดเจาะบ่อบาดาล ขุดลอกหนองคลองน้ำ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรตลอดป

5.2 ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองสะอาด สวยงาม ปราศจากมลภาวะ พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น จัดหาอุปกรณ์ในการกำจัดขยะมูลฝอยให้เพียงพอ ตลอดจนพัฒนาระบบจัดการขยะเพื่อลดมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ และรวมไปถึงการส่งเสริมให้ครั้วเรือนมีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง

5.3 ส่งเสริมการรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนและลดการใช้พลังงาน

5.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

5.5 พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยก่อสร้างรางระบายน้ำ อาคารระบายน้ำ ร่องระบายน้ำ เพื่อให้น้ำไหลสะดวก

5.6 พัฒนาสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่ โดยการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

6. ด้านสังคม  กีฬา และคุณภาพชีวิต

6.1 ส่งเสริมสนับสนุนการก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ สนามกีฬา  และพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนและออกกำลังกายแก่ประชาชนในท้องถิ่น

6.2 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการกีฬาในทุกด้าน เพื่อให้เด็กเยาวชน และประชาชนได้เข้าถึงกีฬา มีสุขภาวะกายและใจที่ดี

6.3 ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัวให้มีความรัก ความอบอุ่น และสุขภาพแข็งแรง

6.4 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการลงมือปฏิบัติจริง สร้างโอกาสช่องทางให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการเฝ้าระวังการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน6.5 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

6.6 ส่งเสริมเบี้ยยังชีพสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ อย่างทั่วถึงเป็นธรรมและให้บริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม

6.7 ส่งเสริมสนับสนุนด้านการดูแลพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

7. ด้านสาธารณสุข

7.1 ส่งเสริมการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน การบริการความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชน การจัดให้มีระบบสุขาภิบาลในระดับครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงถ้วนหน้า และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ทุกครัวเรือน

7.2 ป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อต่าง ๆ และวางมาตรการรับมือโรคระบาดต่างๆอย่างเป็นระบบ

7.3 ส่งเสริม สนับสนุนบทบาทหน้าที่ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการสร้างสุขภาพภาคประชาชน

7.4 ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) ให้มากขึ้น ให้มีส่วนร่วมในการสำรวจตรวจสอบดูแลสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน

8. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

8.1 ติดตั้งไฟส่องสว่างถนนให้เพียงพอ ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมจราจรในการกำหนดสัญญาณไฟให้เหมาะสมต่อการใช้งานของประชาชน และบำรุงดูแลรักษาสภาพแวดล้อมริมทางถนนให้มีความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง รวมถึงสนับสนุนการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV เพิ่มเติมให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล

8.2 จัดให้มีศูนย์บริการและช่วยเหลือประชาชน ในการเสริมสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการให้การช่วยเหลือประชาชนในกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งส่งเสริมให้มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์กู้ภัย กู้ชีพ ศูนย์ให้การบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง

8.3 จัดให้มีสถานีดับเพลิงที่ได้มาตรฐานในการเฝ้าระวังและระงับอัคคีภัย และส่งเสริม สนับสนุนให้มีระบบเตือนภัยและการฝึกซ้อมแผนป้องกันสาธารณะภัยทุกประเภทอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

8.4 สนับสนุนเครือข่าย อปพร. ชรบ. หรืออื่นๆ ให้มีความเข้มแข็งเพื่อบริการด้านความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชุมชน

8.5 ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นช่วยกันดูแล สอดส่องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

9. ด้านบริหารจัดการ

9.1 เปิดศูนย์ เปิดสายด่วน รับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง และปรับระบบการทำงานขององค์กรเพื่อให้สามารถให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาระบบให้บริการประชาชนไปสู่รูปแบบบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service)

9.2 ปรับปรุงและเพิ่มช่องทางในการตรวจสอบการบริหารของเทศบาล ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เช่น เว็ปไชต์ ไลน์ และเฟชบุ๊คเพจ

9.3 บริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

9.4 ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันคิด ร่วมวางแผน ในการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหาร และสร้างรัฐแบบเปิด โปร่งใส ประชาชนร่วมตรวจสอบได้ โดยการสร้างระบบรับเรื่องร้องเรียน เปิดเผยข้อมูลภาครัฐ และทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม

9.5 พัฒนาการฝึกอบรมและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในองค์กรทุกระดับ ทุกภาคส่วน ให้มีความรู้ความสามารถ สร้างโอกาส ขวัญกำลังใจให้บุคลากรในองค์กรได้มีบทบาทต่อการบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน

9.6 พัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมให้งานในหน้าที่ด้านต่างๆของเทศบาลมาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

9.7 จัดหาผู้เชี่ยวชาญหรือสถาบันต่างๆเข้ามาช่วยพัฒนาวิจัยเพื่อได้แนวทางในการบริหารจัดการเทศบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

9.8 จัดให้มีพนักงานเทศกิจ อำนวยความสะดวกกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาล และคอยกวดขันความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่สาธารณะ

9.9 จัดหารายได้ของเทศบาลให้มีเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เช่น จากมูลนิธิ กองทุนต่างๆ เพื่อเป็นส่วนเสริมการพัฒนาของพื้นที่

Cresta Social Messenger